การจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน (Integrated Pest Administration : IPM)

การจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน (Integrated Pest Management : IPM) หมายถึง การเลือกใช้วิธีควบคุมศัตรูพืชที่มีอยู่อย่างรอบคอบ แล้วนำมาผสมผสานกันอย่างเหมาะสม เพื่อลดปริมาณศัตรูพืชและคงไว้ซึ่งระดับการใช้สารกำจัดศัตรูพืชหรือการใช้สิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ อย่างคุ้มค่าและลดหรือหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม IPM เน้นการปลูกพืชให้แข็งแรง ให้มีการกระทำที่อาจรบกวนระบบนิเวศเกษตรน้อยที่สุด และสนับสนุนกลไกการใช้ศัตรูธรรมชาติควบคุมศัตรูพืช

การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี หมายถึง การใช้สิ่งมีชีวิตในการควบคุมแมลงศัตรูพืชให้อยู่ภายใต้ระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจที่กำหนด เช่น

ไส้เดือนฝอย ฉีดพ่นไส้เดือนฝอยให้สัมผัสตัวแมลง โดยเฉพาะในระยะไขและระยะตัวหนอน ไส้เดือนฝอยจะเข้าไปตามช่องเปิดของลำตัวแมลง แล้วเข้าไปอยู่ในกระแสเลือดของแมลง จากนั้นแบคทีเรียซึ่งอยู่ในทางเดินอาหารของไส้เดือนฝอยเริ่มขยายพันธุ์ เพิ่มปริมาณ และเคลื่อนตัวออกทางทวารของไส้เดือนฝอย เข้าไปอยู่ในช่องว่างลำตัวแมลง เข้าทำลายของเหลวภายในตัวแมลงทำให้เลือดเป็นพิษ และตายภายใน 3-4 วัน ลักษณะอาการของตัวหนอนที่ถูกทำลายมีสีครีม น้ำตาลอ่อน ลำตัวเหนียว ไม่เละ ไส้เดือนฝอยสามารถเคลื่อนที่เข้าหาเหยื่อได้ ในระยะใกล้ ๆ ได้
เชื้อแบคทีเรีย พ่นเชื้อแบคทีเรียให้จับอยู่ที่ใบพืช กำจัดเพลี้ย เมื่อตัวหนอนกินใบพืช เชื้อแบคทีเรียที่จับตามใบพืชจะเข้าสู่ร่างกาย ไปรบกวนการย่อยอาหารของตัวหนอน ทำให้ตัวหนอนไม่สามารถกินอาหารได้ตามปกติ และตายในที่สุด ตัวหนอนได้รับแบคทีเรียทางปาก การตายจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับชนิดของแบคทีเรีย สภาพแวดล้อม อาหารหนอน ความเป็นกรด-ด่างในลำไส้ แบคทีเรียไม่มีอันตรายต่อคน สัตว์เลือดอุ่น ตัวห้ำ ตัวเบียน
เชื้อรา จะทำลายโดยการทำลายเนื้อเยื่อ เส้นใยจะเจริญอยู่ในลำตัวทำให้แมลงแห้งตาย
ไวรัส มีความเฉพาะเจาะจงกับแมลงอาศัย เช่น NPV ของหนอนกระทู้หอม จะเกิดกับหนอนกระทู้หอมเท่านั้น เมื่อตัวหนอนกินกินไวรัสที่ปะปนอยู่บนพืชอาหาร ไวรัสจะไปเพิ่มจำนวนอยู่ในนิวเคลียสของเยื่อหุ้มต่าง ๆ ของหนอน เช่น เม็ดเลือด ไขมัน ทางเดินอาหาร ท่อหายใจ และผนังลำตัวหนอนจะเป็นโรค และตายภายใน 2-seven วัน ขึ้นอยู่กับขนาดตัวหนอน


ตัวห้ำ หมายถึง สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตโดยการกินแมลงศัตรูพืชเป็นอาหารเพื่อการเจริญเติบโตจนครบวงจรชีวิต ตัวห้ำมีทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่น นก งู กิ้งก่า กบ และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหรือแมลง ต่าง ๆ เช่น มวนพิฆาต มานเพชฌฆาต กำจัดศัตรูพืช ด้วงเต่าลาย แมงมุม
ตัวเบียน หมายถึง แมลงซึ่งอาศัยกินและเบียนแมลงอื่น ๆ แมลงเบียนมีขนาดตัวเล็กกว่าเหยื่อ และมีความเฉพาะเจาะจงกับชนิดของเหยื่อ ไข่ของแมลงเบียนบางชนิดมีความสามารถในการแบ่งตัว เพื่อเพิ่มปริมาณให้มากขึ้นได้ การทำลายเหยื่อของแมลงเบียนมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป แมลงเบียนจะเข้าทำลายในระยะต่าง ๆ ของการเจริญเติบโต เช่น ไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และตัวเต็มวัย ทำให้เหยื่อค่อย ๆ ตายไปในที่สุด
การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยวิธีเขตกรรม หมายถึง การดูแลและปรับปรุงสภาพแวดล้อมของต้นพืชให้มีความอุดมสมบูรณ์ เช่น การตัดแต่งกิ่ง การกำจัดวัชพืช การไถพรวนดิน การปรับสภาพดินให้มีความเหมาะสม นอกจากจะเป็นการทำลายแหล่งอาศัยของศัตรูพืชแล้ว พืชจะเจริญเติบโตได้ดี แข็งแรงสามารถทนต่อการเข้าทำลายของแมลงได้ด้วย

การปรับสภาพดิน เช่น การเตรียมดินให้มีระดับ pH ที่เหมาะสม มีแร่ธาตุอาหารสมบูรณ์ มีความสม่ำเสมอของหน้าดิน
การไถพรวน เป็นการกลับหน้าดินขึ้นเพื่อทำลายไข่และตัวอ่อนของแมลงที่อยู่ในดิน และกำจัดวัชพืชได้อีกทางหนึ่งด้วย
การกำจัดวัชพืช เพื่อจำกัดแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลง และเป็นการลดการแก่งแย่งอาหาร ทำให้พืชที่ปลูกดูดซึมน้ำ แร่ธาตุ อาหารได้อย่างเต็มที่
การตัดแต่งกิ่ง เพื่อจำกัดที่อยู่อาศัยของแมลง ทำให้แสงแดดส่องผ่านได้มากยิ่งขึ้น การสังเคราะห์แสงของพืชทำได้เต็มที่ การจัดการกับต้นพืช และแมลงก็ทำได้สะดวกขึ้น
การปลูกพืชหมุนเวียน คือ การหลีกเลี่ยงไม่ให้มีแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของแมลงนั้น ๆ เป็นเวลานาน เพื่อควบคุม แมลงที่มีการเคลื่อนที่ไม่ไกล แมลงที่มีชนิดอาหารจำกัด และมีการผสมพันธุ์ช้า
การปลูกพืชแบบผสมผสาน บิวเวอร์เรีย เพื่อจำกัดแหล่งอาหารของศัตรูพืช
การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยวิธีกล คือ เมื่อพบว่ามีศัตรูพืชเข้าทำลาย ถ้าพบจำนวนน้อยสามารถจะใช้มือหรือวัสดุช่วยในการทำลาย หรือการใช้กับดักชนิดต่าง ๆ ในการควบคุม

การจับทำลายใช้มือ ในการทำลายเมื่อพบแมลงศัตรู การป้องกันกำจัดแบบง่าย ๆ คือการจับแมลงด้วยมือ หรือเขย่าต้นไม้ หรือการเก็บดักแด้ของหนอนกินใบสักที่อยู่ตามเศษใบไม้แห้งบนพื้นดิน
การใช้ตาข่ายคลุมแปลง เพื่อป้องกันแมลงจากภายนอกแปลงเข้ามาทำลายภายในแปลงได้ เช่น การทำผักกางมุ้ง
การใช้เครื่องยนต์ เช่น เครื่องจับตั๊กแตน หรือเครื่องดูดแมลง
การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยสารสกัดจากธรรมชาติ คือ การนำสารที่สกัดได้จากธรรมชาติมาใช้ในการควบคุมแมลงศัตรูพืช เช่น เชื้อราบิวเวอร์เรีย สารสกัดจากสะเดา ตะไคร้หอม พลูป่า หางไหล เป็นต้น

การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยการใช้สารเคมี คือ การใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เช่น การใช้สารเคมีกำจัดแมลง การใช้เหยื่อพิษ การใช้สารล่อ เป็นต้น

การเลือกใช้สารเคมีที่มีความเฉพาะในการป้องกันกำจัด ควรเลือกสารเคมีที่กำจัดเฉพาะแมลงศัตรูพืชป่าไม้เท่านั้น เพื่อป้องกันศัตรูธรรมชาติของแมลงที่เป็นตัวรักษาสมดุลธรรมชาติ
การใช้สารล่อ โดยการสังเคราะห์สารฟีโรโมนเพศของแมลงที่พบว่ามีการระบาด แล้วสร้างกับดัก นำฟีโรโมนมาเป็นสารล่อ แมลงที่มาติดกับดักจะเป็นแมลงเพศเดียวกัน เป็นการช่วยลดการผสมพันธุ์ และลดจำนวนประชากรของแมลง
การใช้เหยื่อพิษ ทำให้อาหารของแมลงศัตรูพืชเป็นพิษ โดยจะให้ผลเมื่อศัตรูพืชมากินเหยื่อ

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15

Comments on “การจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน (Integrated Pest Administration : IPM)”

Leave a Reply

Gravatar